วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

<object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/7K4Be0N8xcI?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/7K4Be0N8xcI?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="450" height="360"></object>
สภาพรถกระบะของนายหมาดอาสัน หมาดสา ที่ถูกน้ำป่าซัดตกคลอง ขณะพยายามขับฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวกรากเพื่อข้ามสะพานทางเข้าหมู่บ้านไร่ตก ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา ทำให้เสียชีวิตพร้อมครอบครัวรวม 4 ศพ.
วันศุกร์ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555
เทคนิคหลุมดำพระราชทาน ของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบนในภารกิจช่วยแก้ไขปัญหาหมอกควัน และมลพิษในพื้นที่ภาคเหนือ
ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบนยังคงเดินหน้าขึ้นบินปฏิบัติภารกิจสร้างฝนหลวง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหมอกควัน และมลพิษในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเริ่มภาระกิจการสร้างฝนหลวงแก้ไขปัญหาหมอกควันมาตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งสภาพอากาศยังมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาซน้อยจึงยังไม่สามารถสร้างฝนหลวงได้ จึงได้มีการปรับแพนในการใช้เทคนิคหลุมดำพระราชทานก่อนกวนสภาพอากาศ จนเมื่อวันที่ 4-5 มีนาคม ที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่จังหวัดลำพูน และลำปาง ในพื้นที่อำเภอทุ่งช้าง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ซึ่งก็ได้มีการปรับแผนสร้างหลุมดำพระราชทานต่อเนื่องมา โดยล่าสุดวานนี้ได้ขึ้นบิน 2 เที่ยวบินด้วยกันในการสร้างฝนหลวงในพื้นที่ทางตอนล่างของจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่อำเภออมก๋อย ไปตามแนวของดอยอินทนนท์ ไปยังอำเภอทุ่งช้าง อำเภอลี้ อ.บ้านโอ่ง จ.ลำพูน และพื้นที่อำเภอห้างฉัตรจังหวัดลำปาง เพื่อพื้นที่เป้าหมายของ 3 จังหวัด โดยต้องปรับแผนมาทำการขึ้นบิน 2 เที่ยวบินในช่วงบ่ายเพื่อหลบอากาศร้อนจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่กดทับสภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนืออยู่ โดยเที่ยวแรกใช้วิธีสร้างแกนเมฆเย็น ก่อนที่จะกลับลงมาเติมสารเคมีสูตรสร้างหลุมดำพระราชทานเข้าก่อกวนสภาพอากาศ ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มเมฆเย็น และเกิดสภาพอากาศแปรปรวนมีกระแสลมขึ้นมาช่วยชะล้างหมอกควันในพื้นที่เป้าหมายได้ในระดับหนึ่งเนื่องจากสภาพอากาศยังมีการกดทับของหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนอยู่มาก ซึ่งในวันนี้ก็ยังมีแผนที่จะขึ้นก่อกวนสภาพอากาศโดยเทคนิคหลุมดำพระราชทานต่อสำหรับเทคนิคหลุมดำพระราชทานนั้น นายรังสรรค์ บุศย์เมือง เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เปิดเผยว่า เทคนิคหลุมดำพระราชทานเป็นแนวทางจากกระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งปี 2550 ซึ่งพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่เกิดปัญหาเรื่องของมลบพิษ จากหมอกควันยาวนาน และหนักที่สุด ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งร้อนอบอ้าวความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศจึงมีน้อย จนไม่สามารถปฏิบัติการสร้างฝนหลวงได้ผลในช่วงดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานแนวทางในการสร้างหลุมดำนี้ขึ้น เหมือนเป็นการแกล้งอากาศ ให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นเพื่อที่จะสามารถเปิดชั้นอากาศที่กดทับหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือไว้
โดยใช้วิธีก่อกวนอากาศ ใช้เครื่องบิน 2 ลำบินในระดับความสูง 8,500 ฟุต ซึ่งเป็นระดับขึ้นของอากาศที่กดทับหมอกควันอยู่ โดยเครื่องบินลำแรงจะใช้สารเคมีส้รางเมฆอุ่นในระดัลบความสูง 8,500 ฟุตขึ้นไป โดยจะบินโปรยสารเคมีสูงร้อนลักลักษณะบินวนขาวขึ้นไป ส่วนเครื่องบินอีกลำซึ่งอยู่ต่ำกว่าเครื่องแรกประมาณ 1,000 ฟุต ก็จะบินวนซ้ายลงระดับต่ำลงไป โปรยสารเคมีสร้างเมฆเย็นด้านล่าง เพื่อสภาพอากาศที่แตกต่างกันมาปะทะกับ คือความเย็นที่อยู่ด้านล่างจากเมฆเย็นที่สร้างไว้ มาเจอกับเมฆร้อนด้วนบนก็จะทำให้เกิดกระแสลมไหลเวียนในลักษณะอากาศที่ปั่นป่วน ซึ่งจะส่งผลให้ชั้นอากาศที่กดทับหมอกควันเบาบางลง และเปิดออกทำให้หมอกควันถูกพัดพาขึ้นสู่ด้านบนออกมา อีกครั้งความชื้นในอากาศที่เกิดจากการส้รางเมฆเย็นก็ยังจะสามารถช่วยดักจับฝุ่นละออง และหมอกควันให้จับตัวกันตกลงสู่พื้นล่างได้ดีขึ้นจึงเรียกเทคนิคนี้ว่าหลุมดำพระราชทาน